เมนู

พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ถ้าฉะนั้น เงาคนก็ไม่มี
พระนาคเสนองค์อรหาธิบดีจึงอุปมาต่อไปว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
มหิศราธิบดี ถ้ากระจกมี แสดงสุริยรังสีมี คนก็ส่องเข้า เงาในกระจกจะมีหรือหามิได้ นะ
บพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ถ้าฉะนั้นแล้ว เงาก็มีนั้นซิ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ฉันใดเล่า สังขารบางเหล่าที่ไม่มีก็มีขึ้น มีครุวนาดุจกระ
จกไม่มีก็มีขึ้น มีคนส่องเข้า เงาก็มีนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงฟังพระนาคเสนอุปมาดังนั้น ท้าวเธอก็มี
พระทัยโสมนัสปรีดา มีพระราชโองการตรัสว่า กลฺโลสิ สธุสะพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาอุปมานี้
สมควรแก่ปัญหา ในกาลบัดนี้
ภวันตานัง สังขารานัง ชานนปัญหา คำรบ 5 จบเท่านี้

วทคูปัญหา ที่ 6

ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาอื่นต่อ
ไปอีกเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชา ปัญหานี้โยมสงสัยอยู่
สภาวะอย่างไรเรียกว่าเวทคู
พระนาคเสนผู้วิเศษ จึงย้อนถามว่า มหาบพิตรสังเกตสภาวะอันใดกำหนดว่าเป็นเวทคู
อ้อ โยมสังเกตว่าสัตว์บรรดาที่มีชีวิตอยู่นี้ แลดูรูปด้วยจักขุ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วย
จมูก รู้รสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะอันอ่อนและกระด้างด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยน้ำใจ นี่แหละ
เรียกว่าเวทคู จะเปรียบให้พระผู้เป็นเจ้าฟัง ยถา มยํ เหมือนหนึ่งว่าเราอยู่ในปราสาทปรารถนา
จะดูสิ่งไร ก็เปิดหน้าพระแกลแลไป หน้าพระแกลเปิดไว้ทั้งทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตกนั้น ครั้นปรารถนาจะดูโดยช่องพระแกล ก็แลไปในทิศเหนือหรือทิศใต้ทิศตะวันตก
ทิศตะวันออกประการใด ก็เห็นไปสมปรารถนา ยถา มีครุวนาฉันใด สภาวะที่มีชีวิตจิตใจอยู่จะดู
รูปด้วยจักขุทั้งสอง จะฟังเสียงด้วยหูทั้งสองข้าง จะดมกลิ่นต่าง ๆ ด้วยนาสา จะบริโภคด้วย

ชิวหาอันรู้รสทุกสิ่งอัน จะถูกต้องสิ่งทั้งหลายนั้นด้วยกาย จะรู้สิ่งอันละเอียดทั้งหลายด้วยใจ
ก็มีอุปไมยเหมือนช่องพระแกลเปิดไว้ อย่างนี้โยมเข้าใจว่าเป็นเวทคู พระผู้เป็นเจ้าจะเห็นกระไร
พระนาคเสนถวายพระพรตอบไปว่า อาตมาจะเปรียบอีกอย่างหนึ่งให้ดีกว่านี้ เดิมทีสัตว์
ที่มีชีวิตจิตใจอยู่นี้ จะดูรูปด้วยจักขุทั้งสอง จะฟังเสียงเป็นต้นว่าขับร้องด้วยช่องโสตะทั้งสองข้าง
จะดมกลิ่นต่าง ๆ ด้วยนาสา จะบริโภคอาหารนานด้วยชิวหาอันรู้รสทั้งหลาย จะถูกต้องสิ่งทั้ง
ปวงด้วยกาย จะรู้สิ่งทั้งหลายอันสุขุมด้วยใจ มีครุวนาฉันใด อาตมาจะเปรียบให้ฟัง ยถาม มยํ
ดุจเรานั่งอยู่บนปรางค์ปราสาทนี้ มีช่องพระแกลเปิดไว้ ทั้งทิศเหนือทิศใต้ตะวันตกตะวันออกนั้น
ครั้นจะแลไปโดยทิศอันใด จะดูข้างทิศเหนือหรือทิศใต้ตะวันตกตะวันออกนั้นก็เห็นสิ้น มีครุวนา
ฉันใด สัตว์ที่มีชีวิตจิตใจ จะรูปด้วยจักขุ จะดูรูปด้วยหู จะดูรูปด้วยจมูก จะดูรูปด้วยลิ้น จะดู
รูปด้วยกาย และดูรูปด้วยน้ำใจก็ได้เหมือนหนึ่งช่องพระแกลที่เปิดไว้ ดุจมหาบพิตรเปรียบมา
ฉะนี้จะได้หรือหามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ ตรัสตอบว่าไม่ได้
พระนาคเสนถวายพระพรตอบไปว่า มหาบพิตรเปรียบนี้ไม่ควร ช่องพระแกลเปิดไว้จะ
แลไปเห็นก็รูปแต่รูป จะฟังเสียงและจะดมกลิ่น จะกินอาหาร เป็นต้น ให้รู้โดยช่องพระแกลเปิดไว้
เปรียบอย่างนี้ไม่ควร เพราะเหตุไร เหมือนหนึ่งว่าเราทั้งหลายนั่งอยู่ในปราสาทอันประเสริฐ มี
ช่องพระแกลเปิดไว้ ทั้งทิศเหนือ ทิศใต้ ตะวันตก ตะวันออกนั้น เยี่ยมหน้าออกไปข้างนอกโดยช่อง
พระแกล ก็แลเห็นรูปด้วยจักขุฉันใด ซึ่งสัตว์มีชีวิตจิตใจอยู่ภายในกาย และจะดูรูปทั้งหลายด้วย
จักขุทวาร ก็เห็นรูปดุจดูที่หน้าต่างเปิดไว้แล้ว ถ้าจะเปิดไว้ซึ่งหูและจมูกและลิ้นและกายและน้ำใจ
จะเห็นรูปทั้งหลายเหมือนหนึ่งว่าเยี่ยมหน้าออกดูรูปตามช่องพระแกล แล้วแลดูรูปนั้น หรือประ
การใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า หามิได้
พระนาคเสนถวายพระพรตอบไปว่า เหตุฉะนี้ ความที่มหาบพิตรเปรียบนี้วิปริตผิดอยู่
อันทวารทั้ง 6 จะยกเปรียบด้วยช่องพระแกลนั้นไม่สมควร จะเปรียบให้ฟังอีกอย่างหนึ่งเล่า
เหมือนบพิตรพระราชสมภารเจ้ากระนี้ จะสถิต ณ พระที่นั่งซุ้มพระทวารมหราปราสาทแล้วจะ
พระราชทานทรัพย์แก่ยาจก ยาจกมารับพระราชทานทรัพย์เป็นสองคน คนหนึ่งมาแต่ทิศตะวัน
ตก ครั้นรับพระราชทานแล้วก็ไปข้างทิศตะวันออก ยาจกคนหนึ่งมาแต่ทิศตะวันออก ครั้นรับ
พระราชทานแล้ว ก็ไปสู่ทิศตะวันตก เมื่อยาจกมาข้างทิศนี้ไปข้างทิศนั้น บพิตรสิสถิตอยู่ที่
ซุ้มประตูรู้หรือไม่ หรือเป็นประการใดเล่า

พระเจ้ากรุงมิลินท์ตอบว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า โยมรู้ว่ายาจากคนนั้นมาแต่ทิศ
ตะวันออกไปข้างทิศตะวันตก ยาจกมาแต่ทิศตะวันตกไปข้างทิศตะวันออก โยมรู้ซิผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถามอีกเล่าว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อีก
ประการหนึ่งเล่า ยาจกที่บพิตรพระราชทานนั้น อนยนฺโต เมื่อยังไม่นำเอาของพระราชาทานไป
ติฏฺเฐยฺย จะพึงนั่งอยู่ตรงหน้าพระที่นั่ง ตฺวํ มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรพระราชสมภารจะ
ทราบหรือไม่ว่า ยาจกนี้เราประทานแล้วยังนั่งอยู่
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสว่า เออ โยมรู้ซิน่ะ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงเปรียบอีกเล่าว่า ข้อที่ว่ายาจกมาแต่ทิศตะวันตกตะวันออก มารับพระ
ราชทานแล้วจะนั่งอยู่ และจะไปโดยทิศตะวันออกนั้นก็ดี มหาบพิตรรู้อยู่สิ้นแล้ว และความนี้ฉัน
ใด สัตว์ที่มีชีวิตอยู่ภายในกาย เมื่อจะบริโภครสอาหารทั้งหลายด้วยชิวหา และรสอาหารนั้นก็
ตกถึงชิวหา เต ชาเนยฺย สัตว์นั้นได้ลิ้มเลียรสจะรู้หรือว่ารสนี้ อมฺพิลตฺตํ วา เปรี้ยวก็ดี
ลวณตฺตํ วา เค็มจืดก็ดี ติตฺตกตฺตํ วา ขมก็ดี กฏุกตฺตํ วา เผ็ดร้อนก็ดี กวายตฺตํ วา
เฝื่อนฝาดก็ดี มธุรตฺตํ วา หวานก็ดี จะรู้รสทั้งนี้ด้วยลิ้นนั้น เหมือนกันกับมหาบพิตรสถิตอยู่ที่
ซุ้มประตูมหาปราสาท จะดูยาจกเข้าออกและนั่งอยู่ตรงหน้าพระที่นั่งอยู่ก็รู้กระนี้ หรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสรับ ชาเนยฺย เออ รู้สิผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงตรัสถามอีกเล่าว่า ขอถวายพระพร ก็ถ้าว่ารสอาหารมิได้พานเข้าไปที่
ชิวหา สัตว์ที่มีชีวิตอยู่ภายในกายจะรู้หรือว่ารสทั้งหลายนั้นว่าเฝื่อนฝาด เผ็ดร้อน เปรี้ยว ขม
เค็ม คาวหวาน น่ะบพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์เลิศกษัตริย์ มีพระราชโองการตรัสว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อรสไม่
เข้าไปถึงชิวหานี้จะรู้ที่ไหน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรตอบไหว่า ซึ่งมหาบพิตรตรัสไว้กับข้ออุปมาอุปไมยก็ผิดกันไป
น ยุชฺชติ ไม่ถูกไม่ต้องไม่สมไม่ควรหามิได้ อนึ่ง จะอุปมาต่อไปน่ะบพิตรพระราชสมภาร
โกจิเทว ปุริโส เปรียบปานดุจบุรุษผู้ใดผู้หนึ่งจะเอาน้ำผึ้งและนมเปรียงมาเทลงไว้ให้เต็มรางแล้ว
จะให้บรุษผู้หนึ่งลงนอนในราง จะปิดปากไว้มิให้รสผึ้งนมเปรียงไหลเข้าปากได้บุรุษผู้นั้นจะรู้หรือไม่
ว่า รสน้ำผึ้งหวาน นมเปรียงมัน จะรู้เหมือนชิมด้วยลิ้นนั้นหรือว่าหามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์เลิศกษัตริย์ตรัสว่า ชิวหาไม่ได้ชิมลิ้มเลียจะรู้รสหามิได้
พระนาคเสนจึงตอบไปว่า ขอถวายพระพร ความนี้ไพล่เผลออยู่ฉันใด ที่บพิตรเปรียบ

ว่าช่องพระแกลมหาปราสาทเปิดไว้ โดยทิศเหนือทิศใต้ตะวันตกตะวันออกนั้น น้ำมาเปรียบกัน
กับทวารทั้ง 6 ก็ไม่สม และจะว่าลักษณะแห่งทวารทั้ง 6 ก็ไม่ถูกต้อง จะจัดว่าเป็นเวทคูนั้นผิด
กันไปไม่สมควร ขอถวายนพระพร
ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากรก็จนพระทัยจึงตรัสยอมลงว่า โยมนี้
มิอาจจะตอบโต้เจรจา ตยา วาทินา ด้วยถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้าได้ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้า
วิสัชนาเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งเถิด
ฝ่ายพระนาคเสนผู้ประเสริฐ ก็ให้พระเจ้ากรุงมิลินท์เข้าพระทัยด้วยถ้อยคำอันประกอบ
ไปด้วยอภิธรรมกถาว่า มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรพระราชสมภารจงทรงพระสวนการฟัง
ให้เข้าพระทัย ซึ่งตรัสไว้ว่าจัดรูปรู้ว่ารูป ตรัสเป็นอาทิฉะนี้หาถูกไม่ นี่แหละจักขุอาศัยรูป
ก่อนจึงจะมีจักขุวิญญาณรู้ว่ารูปแล้ว เมื่อเจตสิกเกิดพร้อมด้วยจักขุวิญญาณนั้น คือเวทนา
เจตสิกมีลักษณะเสวยสุขทุกข์อุเบกขา และสัญญาเจตสิกมีลักษณะกำหนดกฎหมาย และเจตนา
เจตสิกมีลักษณะตรึกอารมณ์ ผัสสเจตสิกมีลักษณะกระทบอารมณ์ มนสิการเจติสกมีลักษณะ
ถือเอาอารมณ์ นี้ก็เป็นสหชาตธรรมด้วยจักขุวิญญาณ คือเคยเกิดพร้อมด้วยจักขุวิญญาณก็
เกิดขึ้น "ปจฺจยโต" แต่เหตุอาศัยจักขุวิญญาณเป็นปัจจัยอุดหนุนดังนี้ และจะจัดว่าเป็นเวทคู คือ
สัตว์บรรดามีชีวิตอยู่รู้อย่างนี้ ซึ่งจะรู้ไตรเพทหามิได้
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขต่อไปในบทว่า โสตะ และฆานะและชิวหาและกายและมโน
นั้น อาศัยกันเหมือนจักขุกับรูปนั้นว่า ขอถวายพระพร โสตญฺจ อันว่าหูทั้ง อาศัยสัททะ
คือเสียงขับร้องเป็นต้น เสียงทั้งหลายนี้ ถ้าไม่มีหูก็ไม่ได้ยิน ฆานะ จมูก อาศัยคันธะ คือ กลิ่น
ชิวหา ลิ้น อาศัยลิ้มเสียกินซึ่งรสทั้งหลาย กายอาศัยเคล้าคลึงถูกต้องเข้า มโนน้ำใจเล่าก็นึก
ฝันไป ก็อาศัยแก่ธรรมารมณ์อันสุขุมนั้น และโสตะและฆานะและชิวหาและกายและน้ำใจจะรู้ว่า
สิ่งนั้นสิ่งนี้ อาศัยแก่วิญญาณจึงจะรู้ ใช่ว่าจะรู้ด้วยกำลังวิญาณทีเดียวหามิได้ อาศัยสหชาต-
ธรรมเกิดขึ้นพร้อม ถ้อยทีถ้อยค้ำชูอุดหนุนแก่กัน และสหชาตธรรมนั้น ได้แก่เวทนาสัญญาเจต-
นาผัสโสมนสิกาโร มีลักษณะดุจวิสัชนามานี้ มีประกอบเกิดพร้อมด้วยกันกับวิญญาณนั้นจึงจะรู้
ต้องเย็นร้อนอ่อนกระด้างทั้งหลายด้วยกาย จึงจะรู้ธรรมบัญญัติทั้งหลายด้วยใจ มีในอภิธรรม
อย่างนี้ตามพระพุทธฎีกาโปรดไว้ จะได้ว่าสัตว์อันมีชีวิตอยู่กายในภายทั้งหลายนี้ กำหนดใน
บทว่าเวทคูรู้ศิลปศาสตร์และไตรเพทหามิได้ บพิตรพระราชสมภารพึงเข้าพระทัยเกิด

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์เกศกษัตริย์ได้ฟังชัดก็โสมนัสปรีดามีพระราชโองการสรรเสริญว่า
กลฺโลสิ สธุสะพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรจะมนสิการไว้ในกาลบัดนี้
เวทคูปัญหา คำรบ 6 จบเท่านี้

จักขุวิญญาณมโนวิญญาณปัญหา ที่ 7


ราชา

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีสุนทรพรนารถราชโองการตรัสถามว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า จักขุวิญญาณเกิดที่ใด มโนวิญญาณก็ตามไปเกิด
ที่นั้น หรือประการใด
พระนาคเสนจึงรับพระโองการไปว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
พระองค์ผู้ประเสริฐ จักขุวิญาณบังเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็บังเกิดในที่นั้น
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นมไหศวรรย์พระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสน โยมยังสงสัยนัก เหตุไรจักขุวิญญาณจึงเกิดก่อน มโนวิญญาณจึงเกิดทีหลัง
กึ ปน หรือว่าสั่งเสียให้กติกาสัญญากันไว้ จักขุวิญญาณบังคับบัญชาไว้กับมโนวิญญาณว่า
อาตมาจะไปเกิดก่อน ท่านจงไปเกิดทีหลัง หรือว่ามโนวิญญาณสั่งจักขุวิญญาณว่า ท่านจงไปก่อน
ตัวข้านี้แลจะไปทีหลัง สั่งเสียกันถ้อยทีถ้อยให้กติกาสัญญากันไว้กระนี้ หรือประการใด
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ใช่ว่าธรรมทั้งหลายจะสั่งสนทนาพูดจากันไว้หามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสว่า ก็อย่างไรเล่าพระผู้เป็นเจ้า จงวิสัชนาไป
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า นินฺนตฺตา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระ
ราชมภาร จักขุวิญญาณเกิดที่ใด มโนวิญญาณที่เกิดที่นั้น นินฺนตฺตา เหตุภาวะเคยไหลไปที่
ลุ่ม ทฺวารตฺตา เหตุว่าเป็นทวารเคยไป จิณฺณตฺตา เหตุว่าสั่งสมเคยไปทุกที่ด้วยกัน
สมุทาจรณตฺตา เหตุภาวะเหมือนจะชักชวนกันไป เหตุภาวะ เคยชำนิชำนาญกันมาแต่ก่อน
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร มีสุนทรราชโองการซักว่า ที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนา
่ว่า จักขุวิญญาณเกิดที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น นินฺนตฺตา เหตุภาวะไหลตามกันไปที่ลุ่ม
จงทำอุปมาให้โยมสิ้นสงสัยก่อน